PINGKA SIRISUJINTE
Musique de la Vie et de la Terre
Recital 2021 (Heritage of Instruments)
Repertories (Piano)
Beethoven Piano Sonata Op.110
Rachmaninoff Prelude Op.32 No.10
Repertories (Others)
Violin
Beethoven Violin Sonata No.4 (5)
Four Seasons New Arr.
Concept
Instrument comparing (Piano & Violin)
แนวคิดคือ ศึกษาและนำเสนอการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเครื่องดนตรีผ่านบทเพลงศิลปินในยุคต่างๆ
เครื่องดนตรีที่ถูกยกเล่าคือ Piano & Violin 2 เครื่องดนตรีนี้ถือเป็นเครื่องดนตรียอดนิยมของโลก และยังเป็นเครื่องที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีมากที่สุดเครื่องนึงของโลกด้วย
อย่างเช่น piano เป็นเครื่องดนตรีที่แสดงถึงความอิสระ และเป็นเครื่องดนตรีที่มีทุกช่วงเสียง (มาตราฐาน) ความที่มีทุกช่วงเสียง เครื่องนี้เลยสามารถเล่นทุกองค์ประกอบของดนตรี (จังหวะ ทำนอง เสียงประสาน คอร์ด) ได้ด้วยตัวคนเดียว และยังสามารถเล่นได้หลายบทบาท ทั้งบรรเลงเดี่ยว (Soloist) บรรเลงร่วมกับเครื่องอื่น (Accompaniment) บรรเลงรวมวง (Ensemble)
ด้วยคุณสมบัติของเปียโน ทำให้เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมมากที่สุดเครื่องหนึ่ง เพราะเป็นเครื่องที่สามารถเล่นได้ทุกเพลงบนโลก เราสามารถเล่นเพลงที่เราอยากฟังได้ตลอดเวลาหากเล่นเปียโนได้ โดยไม่ต้องรอฟังเพลงจากวงที่นานๆทีอาจจะมาครั้ง ในยุคที่ยังไม่มี youtube joox spotify apple music etc. และนั่นทำให้ในยุคใหม่ piano ถูกพัฒนาเป็น electrons syn. เครื่องมือสำหรับการสร้าง production
ในด้านของเพลง ความที่เปียโนมีทุกช่วงเสียงอยู่ในเครื่องเดียว ทำให้เพลงสามารถมีช่วงเสียงที่ห่างกันมากๆพร้อมกันได้ คนที่เริ่มวิธีคิดแบบนี้คือ Beethoven สังเกตุได้จากผลงานในช่วงปลาย ที่จะเริ่มมีช่วงเสียงที่ห่างกันมากขึ้น เพราะความที่ Beethoven หูหนวกเกือบจะสนิทแล้ว เลยทำให้เขาไม่ได้ยินเสียงกลาง เขาจะได้ยินแค่เสียงที่สูงมากกับต่ำมาก เลยทำให้เพลงในช่วงเวลานั้นมีช่วงเสียงแบบนี้ Sonata op.110 ก็เป็นเพลงนึงที่มีลักษณะแบบนั้น ถึงในเพลงจะไม่ได้มี 2 ช่วงเสียงพร้อมกันทั้งเพลง แต่ก็มีหลายช่วงที่ถูกเขียนแบบนี้ และมีหลายช่วงที่มีแต่เสียงสูง และมีแต่เสียงต่ำ ซึ่งเมื่อเทียบกับนักประพันธ์ในช่วงใกล้ๆกันอย่าง Mozart Haydn หรือนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงในยุคก่อนๆอย่าง Bach แนวคิดนี้ถือว่าเป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่ เพราะส่วนใหญ่เพลงในยุคก่อนหรือแม้แต่ Early Beethoven จะเน้นเสียงช่วงกลางมากกว่า ในยุคนั้นเปียโนยังไม่ถูกพัฒนาเป็นแบบปัจจุบัน ยังมีไม่ถึง 88 คีย์ จึงเป็นไปได้ที่นักประพันธ์ส่วนใหญ่มักจะเลือกช่วง้สียงตรงกลาง และ Beethoven เป็นคนแรกๆที่ทำให้เปียโนเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะเขาเล่นเปียโนจนพัง (สายขาด) มีหลายๆเพลงที่สะท้อนการเล่นเปียโนอย่างมีพลังและรุนแรง Ex.(Piano Sonata op.13 Pathetique)
Violin
เครื่องดนตรีที่จัดเป็นเครื่องเสียงสูง แต่ก็ยังสามารถและได้หลายบทบาท ทั้งบรรเลงเดี่ยว (Soloist) บรรเลงร่วมกับเครื่องอื่น (Accompaniment) บรรเลงรวมวง (Ensemble) แต่หลักๆแล้ว violin มักจะถูกจัดให้เป็นเครื่อง solo และยังเป็นอีกเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมมาก เพราะความที่เป็นเครื่องดนตรีเสียงสูง จึงฟังค่อนข้างง่าย และก็เป็นเครื่องดนตรีที่พกพาง่าย ไม่เหมือน cello ที่มีขนาดใหญ่กว่า หรือ piano ที่ต้องตั้งอยู่เป็นที่ๆ violin เป็นเครื่องดนตรีที่ถึงกลไกจะไม่ซับซ้อนเท่าเปียโน แต่เป็นเครื่องที่มีความละเอียดอ่อน นัก violin ต้องมีทักษะในการดูแลเครื่องดนตรีของตัวเอง ไม่เหมือนเปียโนที่ช่างกับคนเล่นจะแยกกัน
ด้วยคุณสมบัติของไวโอลิน ที่เป็นเครื่องดนตรีเสียงสูง (เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่เสียงสูงที่สุด) ทำให้มีผลอย่างมากต่อการจัดวง ไม่ว่าจะ chamber หรือ orchestra คือ violin มักจะอยู่ข้างหน้าเสมอ ในวง orchestra จะมีตำแหน่งหนึ่งที่เรียกว่า Concertmater ซึ่งคนที่จะอยู่ในตำแหน่งนี้จะเป็นนักไวโอลิน เพราะเป็นตำแหน่งหน้าสุดของวง ซึ่งคนที่จะอยู่ในพื้นที่ของ concertmaster จะเป็นฝั่งของ violin 1 (Violin1 – Violin2 – Viola – Cello – Double Bass) ซึ่งการจัดวงในแต่ละยุคสมัยก็ต่างกัน (เสียงที่นักประพันธ์ต้องการนำเสนอ)
เพลงที่ถูกแต่งให้ violin ส่วนมากมักจะเป็นเสียงสูง - สูงมาก และไม่ว่าจะผ่านไปนานกี่ยุคกี่สมัย การที่ใช้ช่วงเสียงสูง - สูงมากก็ยังคงเป็นสิ่งที่พบเจอในเพลง violin ในยุคแรกๆที่ violin เริ่มมีชื่อเสียง (Baroque) จะมีบางบทเพลงที่แต่งให้ violin เล่นด้วยตัวคนเดียว (Bach: Sonatas, Partitas) แต่ในยุคต่อๆมาเริ่มมีการใส่เครื่องดนตรีอื่นประกอบอย่างเช่น เปียโน ข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่งของไวโอลินคือ ถึงจะเป็นเครื่องที่เป็นได้หลายบทบาท แต่ไม่สามารถทำทุกอย่างพร้อมกันได้เหมือนเปียโน ยังไงเพลงไวโอลินโดยส่วนใหญ่ยังต้องมีเครื่องดนตรีเป็น partner (ยกเว้นบางเพลงที่ถูกเขียนมาให้เล่นคนเดียวแบบ Bach Sonatas, Partitas / Paganini Caprices) violin อยู่ในกลุ่มเครื่องดนตรีที่อ่านโน้ตบรรทัดเดียว จะต่างกับเปียโนที่อ่านโน้ต 2 บรรทัด แต่ก็เป็นเครื่องดนตรีที่สามารถทำเสียงแปลกๆหรือเทคนิคแปลกๆได้มากกว่าเปียโน Ex. Left hand Pizz, Harmonic, การใช้ bow เคาะสาย การเล่นช่วงเสียงที่กว้างมากๆ (เปียโนก็ทำได้แต่อาจจะยากกว่าม ใช้เวลาฝึกนานกว่า)
violin ถือเป็นเครื่องดนตรีอีกเครื่องที่เล่นยาก เพราะอย่างเปียโน Basic คือกด จะมีวิธีเล่นกี่แบบ basic ก็ยังอยู่ในการกด แต่ violin ก่อนจะเริ่มเล่นเพลงได้ก็ต้องจับ bow ให้ถูก วางเครื่องให้ถูกก่อน และเมื่อสี ผู้เล่นจะเป็นคนควบคุมเสียง ต่างกับเปียโนที่ผู้เล่นก็เป็นคนคุมเสียงแต่ไม่ 100% เพราะเปียโนใช้ค้อนตีสาย คนเล่นแค่กดแล้วค้อนก็จะตีสาย (เหมือนทุกอย่างถูก set ไว้แล้ว) เมื่อกดไป เสียงจะออกแล้วค่อยๆหายไป แต่ violin เสียงจะออกมายังไงก็อยู่ที่ข้างขวาเป็นหลัก เปียโนเมื่อกดลงไปก็จะเกิดเสียงและซักพักก็หายไป แต่ไวโอลินเสียงจะขึ้นอยู่กับการสีของข้างขวา เสียงจะหายต่อเมื่อหยุด bow หรือยก bow ออก
ในแต่ละเครื่องดนตรีจะมีเอกลักษณ์ที่ต่างกัน ทั้งเสียง วิธีเล่น ความรู้สึก ซึ่งเครื่องดนตรีก็เป็นสื่อหนึ่งที่ทำให้นักดนตรีสามารถส่งเสียงดนตรีออกมาได้ ในแต่ละยุคเครื่องดนตรีก็มีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนเมื่อเครื่องดนตรีมีความแตกต่างกัน แนวคิดของผู้เล่นที่มีผลต่อการประพันธ์เพลงสำหรับเครื่องดนตรีนั้นๆก็ต่างกัน ในอีกมุมนึง เครื่องดนตรีเองก็มีผลต่อการพัฒนาบทเพลงเช่นกัน ทุกคนเคยสงสัยกันมั้ยว่า ทำไมดนตรีของ J.S.Bach กับดนตรีของ Beethoven ถึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง หรือ ทำไมดนตรีของ Beethoven กับดนตรีของ Liszt ถึงต่างกันมาก (ทั้งๆที่ความเป็นจริง Liszt ก็เป็นนักดนตรีในสายของ Beethoven) เรามักจะได้ยินคำตอบในลักษณะนี้บ่อยๆว่า "ดนตรีแต่ละยุคไม่เหมือนกัน" "ยุคนั้นชอบแบบนี้ ยุคนี้ชอบแบบนี้" "ผู้แต่งคนนี้มีแนวคิดแบบนี้" ซึ่งทุกคำตอบก็ถือว่าถูกต้อง เพราะดนตรีแต่ละแบบ ก็เกิดขึ้นเพราะความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์ ในบางครั้งก็เป็นเพราะค่านิยมของสังคมในเวลานั้นด้วย
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อก็คือ บางครั้งความคิดในการประพันธ์หรือสร้างดนตรีของผู้ประพันธ์ก็ถูกจำกัดด้วยขีดจำกัดของเครื่องดนตรี การที่รูปแบบดนตรีในแต่ละยุคมีความแตกต่างกันส่วนหนึ่งก็มาจากคุณสมบัติและข้อจำกัดของเครื่องดนตรีที่ต่างกันด้วย ลองจินตนาการง่ายๆนะครับว่า ถ้าเอาเพลงที่ถูกเขียนมาให้กระแทกเปียโน อย่างเช่นเพลงของ Beethoven Liszt Rachmaninoff Prokofiev ไปเล่นในเครื่องดนตรีโบราณอย่าง Harpsichord จะเกิดอะไรขึ้น เครื่องดนตรีอาจจะพังได้ครับ
Harpsichord เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นบรรพบุรุษของเปียโน และเป็นเครื่องดนตรีโบราณไม่กี่ชิ้นที่ยังคงหลงเหลือและยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องดนตรีชิ้นนี้ต่อมาพัฒนาเป็นเปียโน ชื่อเต็มของเปียโนคือ clavicembalo col piano e forte (แปลว่า Harpsichord ที่เล่นได้ทั้งเสียงดังและเบา) เพราะว่า Harpsichord เป็นเครื่องดนตรีที่จะเล่นได้แต่เสียงดัง เป็นเครื่องดนตรีที่ควบคุมเสียงยาก
เนื่องจากว่ากลไกของ Harpsichord กับ Piano แตกต่างกันอย่างชัดเจน Harpsichord จะเป็นโลหะที่เกี่ยวสาย เสียงจะคล้ายๆดีดกีตาร์ ส่วน Piano จะเป็นค้อนที่ชนกับสาย เสียงจะมีความกังวานและมีน้ำหนักมากกว่า ลิ่ม (Keyboard) ของเปียโนจะตอบสนองและควบคุมได้ง่ายกว่า Harpsichord
ในอดีต อีกปัญหาใหญ่ของเครื่องดนตรีคือ ระบบการตั้งเสียง (Tunning) เครื่องดนตรีแบบ Harpsichord มักจะมีปัญหาบ่อยๆในเรื่องการตั้งเสียง เพราะว่าเป็นเครื่องดนตรีที่กลไกมีความซับซ้อน จึงไม่สามารถตั้งเสียงหรือปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์หากสายเพี้ยนได้เหมือนเครื่องสายแบบ violin หรือนักร้อง และในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการกำหนดคลื่นความถี่ที่เป็นมาตรฐานแบบ (440 hz 442 hz) ในปัจจุบัน Harpsichord เลยจะเจอปัญหาเรื่องเสียงเพี้ยนบ่อยๆ นักประพันธ์หลายคนจึงไม่ค่อยนิยมแต่งเพลงให้ Harpsichord เพราะจะเจอนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่ก็มีนักประพันธ์บางคนที่พยายามจะข้ามขีดจำกัดของเครื่องดนตรีชิ้นนี้
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ J.S.Bach ได้สร้างผลงานหลายชิ้นที่สะท้อนถึงแนวคิดที่พยายามจะข้ามขีดจำกัดของเครื่องดนตรีชิ้นนี้ หนึ่งในผลงานที่สะท้อนแนวคิดนี้และเป็นที่รู้จักกันค่อนข้างมากในบรรดานักดนตรี Keyboard คือ Well-Tempered Clavier ผลงานชิ้นนี้มี 2 เล่ม ใน 1 เล่มจะแบ่งเป็นเพลงสั้น 24 บท ใน 1 บทจะประกอบด้วย Prelude และ Fugue ทุกบทจะมีบันไดเสียงที่ต่างกัน และใน 1 เล่มจะมีทุกบันไดเสียงในทางทฤษฎีดนตรี แนวคิดของผลงานนี้คือ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องดนตรีชิ้นนี้สามารถเล่นได้ทุกบันไดเสียงตามหลักทฤษฎีดนตรี ซึ่งนักดนตรีบางคนเรียกกันเป็นมุขตลกว่า วิธีคิดแบบนี้เป็นต้นแบบของการตั้งเสียงเครื่องดนตรีในยุคใหม่
ซึ่งการพัฒนาของเครื่องดนตรีนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และได้กับทุกเครื่องดนตรี Violin ก็เป็นอีกเครื่องที่มีการพัฒนาอยู่หลายครั้ง อย่าง Violin ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันคือ Modern Violin แต่ที่จริงแล้ว Violin ในอดีคหรือในยุค Baroque ก็จะเป็นอีกแบบ ซึ่งการพัฒนา Violin ก็เกิดจากขีดจำกัดของ Violin ในยุคโบราณ อย่างเช่น คันชัก (Bow) ถ้าสังเกตจะเห็นว่า Bow ของ Modern Violin กับ Baroque Violin จะแตกต่างกันมาก Bow ของ Baroque Violin จะเป็นเส้นตรง ส่วน Bow ของ Modern Violin จะโค้งและเว้า และนำหนักของ Modern Bow จะค่อนข้างเท่ากันเกือบทุกส่วน ในขณะที่ Baroque Bow จะหนักที่โคนและเบาที่ปลาย
Modern Bow จะควบคุมได้ง่ายกว่า เพลงในยุคใหม่จึงมีลักษณะที่สามารถกระแทกหรือกด Bow ลงไปบนสายได้อย่างเต็มที่ วิธีแบบนี้ถ้าทำในยุคโบราณ Bow อาจจะหักได้ ไม้ที่ใช้ทำ Modern Bow จะมีความตอบสนองที่ค่อนข้างดี มันถูกสร้างมาให้เล่นประโยคเพลงยาวๆได้ เวลาที่เราเล่นโน้ตเยอะๆและเร็ว ไม้จะเด้งโดยอัตโนมัติ ใน Baroque Bow ไม้จะค่อนข้างแข็ง เวลาเล่นอะไรเร็วๆ จะเป็นห้างม้าที่เด้งมากกว่า
ตัวเครื่องดนตรีก็เช่นกัน Modern Violin จะมีการใส่ที่รองคาง และใช้สายโลหะ (Nylon) ในขณะที่ Baroque Violin ใช้สายจากเส้นเอ็นของสัตว์ สายโลหะจะคุมเสียงได้ง่าย และมีความทนทาน จะตอบสนองเทคนิคสมัยใหม่ได้ค่อนข้างดี ส่วนสายที่มาจากเอ็นของสัตว์ จะให้เสียงที่ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ แต่ก็เพี้ยนได้ง่าย และตอบสนองเทคนิคสมัยใหม่บางอย่างได้ไม่ค่อยดีเท่าสายโลหะ
และ Fingerboard ของ Modern Violin จะยาวกว่าและมีมุมที่สูงกว่า Baroque Violin จึงให้ Modern Violin มีช่วงเสียงที่สูงขึ้น เพลง Violin ในยุคใหม่จะหลายเพลงที่เสียงสูงมากๆ และจะมีเทคนิคที่ยากกว่าเพลงในยุค Baroque เพราะเครื่องดนตรีเกิดการพัฒนาแล้ว และมันตอบสนองเทคนิคใหม่ๆหลายอย่างได้ อย่างเช่น Violin Concerto No.3 ของ Saint Saëns ที่ช่วงต้นเพลงจะเริ่มด้วยเสียงที่ต่ำมาก และจบด้วยเสียงที่สูงมาก หรือ Caprice No.24 ของ Paganini ที่รวมเทคนิคยากๆหลายอย่างของ Violin ที่ยังในยุคก่อนจะมีการพัฒนา Violin ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน อย่างเช่น Left-hand Pizzicato (ดีดด้วยมือซ้าย) เล่นโน้ตคู่ (Double Stop) แบบวิ่งไปมาและเร็วในเวลาเดียวกัน หรือ Violin Sonata No.4 ของ Beethoven ที่จะมีบางช่วง ที่เล่นประโยคเพลงยาวมากๆ ใน Bow เดียว
สื่งหนึ่งที่อยากให้ทุกคนเห็นจากงานชิ้นนี้ก็คือ ความมหัศจรรย์และความสวยงามของดนตรีเป็นสิ่งที่วิเศษสำหรับมนุษย์เรา แต่รู้หรือไม่ว่า ดนตรีนั้นแม้จะสวยงามเพียงใด แต่ถ้าไม่มีสื่อกลางในการถ่ายทอด ก็ไม่อาจมีใครรับรู้ได้ สิ่งที่จะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเสียงดนตรีได้ ก็คือเครื่องดนตรี และไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเครื่องมือที่เห็นได้ชัดเจน เสียงร้องของมนุษย์เรา ก็ถือเป็นเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่ง บทเพลงแต่ละยุคเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการพัฒนาขึ้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเครื่องดนตรีที่พัฒนาไปพร้อมๆกับความคิดของมนุษย์ บทเพลงต่างๆ จึงเป็นมรดกจากทั้งผู้ประพันธ์และเครื่องดนตรีในแต่ละยุคสมัย เครื่องดนตรีก็เติบโต และพัฒนาได้เหมือนมนุษย์เรา มันจึงไม่ควรเป็นแค่วัตถุ หรือของตกแต่งบ้าน เพราะงานนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า กว่าเครื่องดนตรีจะพัฒนามาถึงแบบที่เราเห็นในปัจจุบัน หรือที่มาของบทเพลงที่เราได้ยินในปัจจุบันนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเครื่องดนตรี และนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่หลายๆคนมองข้าม งานชิ้นนี้จึงอยากขอ Challenge ผู้ชมทุกท่านว่า อยากให้ลองคิดใหม่ว่า บางที่เครื่องดนตรีที่ตั้งอยู่ในบ้านคุณ อาจจะดูธรรมดาหรือดูสวยดี แต่ที่จริงมันมีเรื่องราวและความมหัศจรรย์ซ่อนอยู่อีกมากมาย
มาร่วมรับชมพัฒนาการและความมหัศจรรย์ของเครื่องดนตรีและบทเพลงจากทั้ง 2 เครื่องนี้ไปพร้อมๆกันนะครับ ในคอนเสิร์ต Heritage Of Instruments.